อบรม Executive functions (EF)
สัมมนาทางการศึกษาปฐมวัย
Seminar in Early Childhood Education
วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
เวลา 14.30 - 17.30 น.
✿ โครงการพัฒนาทักษะ EF เพื่อครูปฐมวัย สู่เด็กอนุบาล ✿
Executive functions (EF) คือ กระบวนการทางความคิด ในส่วน "สมองส่วนหน้า" ที่เกี่ยวข้องกับ ควาคิด ความรู้สึก การกระทำ เป็นความสามารถของสมองที่ใช้จัดการเรื่องต่างๆ ในช่วง 3 - 6 ปีของเด็กจะเป็นช่วงที่ดีในการพัฒนาทักษะ EF
องค์ประกอบของ EF สามารถแบ่งได้เป็น 9 ด้าน และจัดเป็น 3 กลุ่มทักษะ ได้แก่ กลุ่มทักษะพื้นฐาน กลุ่มทักษะกำกับตนเอง และกลุ่มทักษะปฏิบัติ
1.ความจำที่นำมาใช้งาน
2.การยั้งคิด ไตร่ตรอง
3.การยืดหยุ่นทางความคิด
4.การควบคุมอารมณ์
5.จดจ่อใส่ใจ
6.ติดตาม ประเมินตนเอง
7.ริเริ่มและลงมือทำ
8.วางแผนและจัดระบบดำเนินการ
9. พากเพียร มุ่งสู่เป้าหมาย
☞ กิจกรรม "กล้วย กล้วย" แบ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็น 2 กลุ่ม และผลัดการพูดชื่อภาพยนตร์โดยมีคำว่ากล้วยลงไปในชื่อนั้นด้วย เช่น
เมล์นรกหมวยยกล้อ → เมล์นรกหมวยกล้วย
พี่มากพระขโนง → พี่กล้วยพระขโนง
กวนมึนโฮ → กวนมึนกล้วย
☞ กิจกรรมความหมาย ความสำคัญของ EF โดยแบ่งกลุ่มจากสีของจิ๊กซอ ถ้าสีเดียวกันอยู่เดียวกัน ต่อจิ๊กซอให้ถูกต้องและร่วมกันสรุป
☞ กิจกรรม Follow me please เต้นตามจังหวะเพลงและเมื่อเพลงหยุดให้ทำท่าทางตามรูปภาพที่วิทยากรกำหนด
☞ กิจกรรมทางแห่งรัก ลำเลียงลูกบนสีไปให้ถึงจุดหมาย
☞ กิจกรรมเขาวงกต จับกลุ่มและช่วยกันลากเส้นหาทางออกจากเขาวงกต โดยจับเชือกที่มัดปากกาไว้คนละด้านและไม่ให้ออกนอกเขาวงกต
☞ Creative in to the classroom นำอุปกรณ์ที่ได้มานำมาสร้างกิจกรรมส่งเสริมทักษะ EF
การพัฒนาทักษะ EF ในช่วงวัย 3 - 6 ปีเป็นช่วงที่ดีที่สุดเพราะสมองมีการพัฒาดีที่สุด หากพ้นช่วงอายุนี้ ทักษะ EF จะยังมีการพัฒนาแต่ไม่ดีเท่าช่วงเด็กปฐมวัย
การได้เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะ EF ทำให้ตระหนักถึงการส่งเสริมพัฒนา EF ในเด็ก เพราะ EF เป็นส่วนสำคัญในการควบคุมและส่งผลต่อการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี

Attention = จดจ่อใส่ใจ
Emotional Control = การควบคุมอารมณ์
Flexibility = การยืดหยุ่น
Inhibitory = การยับยั้ง
Initiating = ริเริ่มและลงมือทำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น